วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

HDMI มาตรฐานการส่งข้อมูลยุคดิจิตอล

HDMI มาตรฐานการส่งข้อมูลยุคดิจิตอล




HDMI คืออะไร
มาตรฐาน HDMI เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลที่ทาง Sony, Hitachi, Thomson (RCA), Philips, Matsushita (Panasonic), Toshiba และ Silicon Image ได้พัฒนาขึ้น โดยชื่อ HDMI นี้เป็นตัวย่อที่ย่อมาจาก High-Definition Multimedia Interface ซึ่งความหมายของมันก็ตรงประเด็นครับ คือเป็นการเชื่อมต่อสำหรับมัลติมีเดียความละเอียดสูงนั่นเอง และด้วยความที่มันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับมัลติมีเดียนั่นเอง จึงทำให้มันมีจุดเด่นตรงที่มันรองรับการส่งทั้งสัญญาณภาพและเสียงไปพร้อมๆ กันบนสายเคเบิลเส้นเดียวกัน ผ่านพอร์ตๆ เดียวกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายและลดความสับสนในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ลงได้ อย่างมากทีเดียว


การต่อสายที่ยุ่งยากซับซ้อนจะถูกแก้ไขด้วยการเชื่อมต่อแบบ HDMI

ด้วยจุดประสงค์หลักของ HDMI ที่ถูกพัฒนาขึ้นก็เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับความบันเทิงเต็มรูปแบบกับระบบภาพและเสียงแบบ High-Definition และระบบเสียงรอบทิศทาง ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนที่ยังไม่มีการเชื่อมต่อแบบ HDMI นั้น คุณอาจจะต้องเชื่อมต่อสัญญาณวิดีโอและสัญญาณเสียง อย่างน้อยก็ 2 ช่องทางแล้ว ยิ่งถ้าคุณต่อสัญญาณวิดีโอแบบ Component และใช้ระบบเสียงแบบ 5.1 หรือ 7.1-Channel ด้วยแล้ว จะต้องเชื่อมต่อสายเป็นสิบเส้นให้วุ่นวายไปหมด HDMI จึงช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมต่อทุกอย่างได้ภายในสายเส้นเดียว เหมาะสำหรับพวกมีเดียเพลเยอร์ เครื่องเล่นเกมคอนโซล หรืออุปกรณ์ Set top box ต่างๆ ที่ต้องต่อเข้ากับทีวีอย่างยิ่ง


คุณสมบัติของ HDMI
แน่นอนว่าการเชื่อม ต่อแต่ละชนิดย่อมต้องมีขีดจำกัดที่ถูกกำหนดมาไว้ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งนั้นก็คือคุณสมบัติของการเชื่อมต่อนั้นเอง HDMI นี้ก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับอินเทอร์เฟซอื่นๆ แต่ด้วยความที่มันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับกับมัลติมีเดียระดับ High-Definition อยู่แล้ว มันจึงมีความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพวิดีโอและเสียงที่คุณภาพระดับ High-Definition ได้อย่างสบาย โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการบีบอัดข้อมูลเลย

- การส่งสัญญาณภาพ
สำหรับการส่งภาพวิดีโอนั้น เนื่องจากแหล่งที่มาของข้อมูลภาพนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ดังนั้นมันจึงจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบของ MPEG เสียก่อน เพื่อใช้สำหรับส่งข้อมูลไปตามสาย ซึ่งการส่งข้อมูลภาพวิดีโอแบบ MPEG ผ่าน HDMI นี้จะไม่มีการบีบอัดข้อมูลเลย ทำให้การสูญเสียคุณภาพนั้นไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นข้อดีอย่างหนึ่งของ HDMI นั่นเอง รูปแบบการส่งข้อมูลนั้นจะเป็นแบบ TMDS ซึ่งเป็นรูปแบบการส่งข้อมูลแบบอนุกรมแบบเดียวกับที่ใช้บนการเชื่อมต่อแบบ DVI นั่นแหละครับ

ขีดความสามารถในการส่งผ่านภาพวิดีโอของ HDMI นั้นจะขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของมาตรฐานด้วยเช่นกัน เนื่องจาก HDMI เป็นมาตรฐานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีเวอร์ชันที่ต่างกันอยู่พอสมควร แต่ทั้งนี้ทุกๆ เวอร์ชันก็ยังคงใช้งานสายเคเบิลแบบเดียวกันอยู่ เพียงแต่จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้แตกต่างกันไป ตามเวอร์ชัน อย่างเช่นในเวอร์ชัน 1.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชันแรก จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลภาพอยู่ที่ 165 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะสามารถรองรับสัญญาณภาพแบบ High-Definition ที่ความละเอียดสูงถึง 1080p ที่ 60 เฮิรตซ์ ได้ หรือระดับ WUXGA (1920×1080) ซึ่งนั่นคือระดับความละเอียดสูงสุด แต่ถ้าต้องการความละเอียดที่สูงมากกว่านี้ก็จะต้องใช้อุปกรณ์ที่รองรับ มาตรฐาน HDMI ที่มีเวอร์ชันสูงขึ้นอย่างเช่น 1.3 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดจะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 340 เมกะเฮิรตซ์ และมีสามารถส่งสัญญาณภาพที่ความละเอียดระดับ WQXGA (2560×1600) ได้

- การส่งสัญญาณเสียง
สำหรับการส่งสัญญาญเสียง นั้น HDMI ก็จะมีการส่งข้อมูลไปแบบไม่มีการบีบอัดเช่นเดียวกัน โดยจะเป็นข้อมูลเสียงระดับ 192 กิโลเฮิรตซ์ และมีการ Sample แบบ 24 บิต ซึ่งเป็นระดับเสียงเดียวกับที่ใช้ในระบบเดียว Dolby Digital หรือ DTS นั่นเอง นอกจากนี้ HDMI ยังรองรับระบบเสียงแบบ 8 Channel และรองรับ One Bit Audio ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้ใน Super Audio CD ด้วย แต่จะมีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นและมากกว่า Super Audio CD ถึง 4 เท่าด้วยกัน และยิ่งในเวอร์ชัน 1.3 ยิ่งมีการพัฒนาให้รองรับระบบเสียงที่มีคุณภาพเทียบเท่า Dolby TrueHD และ DTS-HD Master Audio ด้วย
มาตรฐาน HDMI เวอร์ชันต่างๆ
- HDMI 1.0 Released December 2002
ใช้ สายเส้นเดียวในการส่งข้อมูลทั้งภาพและเสียง มีบิตเรทสูงสุดอยู่ที่ 4.9Gbps รองรับสัญญาณวิดีโอระดับ 165 Mpixels/sec video (1080p60Hz or UXGA) และระบบเสียง 8-channel/192kHz/24-bit audio.


- HDMI 1.1 Released May 2004
เพิ่มการรองรับ DVD Audio

- HDMI 1.2 Released August 2005
เพิ่มการรองรับ One Bit Audio ที่มีการใช้งานใน Super Audio CDs ระบบเสียง 8 channels.
ประกาศใช้มาตรฐานหัวต่อแบบ A สำหรับเครื่อง PC
อนุญาตให้ PC ใช้สัญญาณภาพระบบสีแบบ RGB ได้ และมีออปชันให้รองรับระบบสีแบบ YCbCr CE ด้วย
ต้องการจอภาพที่ได้มาตรฐาน HDMI 1.2 หรือสูงกว่าเพื่องรับมาตรฐานแรงดันไฟที่ลดลง

- HDMI 1.2a Released December 2005
มีการทดสอบและประกาศมาตรฐาน รวมถึงระบบควบคุมต่างๆ อย่างสมบูรณ์แบบสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า

- HDMI 1.3 Released 22 June 2006.[7] [8]
เพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลขึ้นไปที่ 340 MHz (10.2 Gbps)
รองรับความละเอียดสีที่ระดับ 30-bit, 36-bit, and 48-bit xvYCC ซึ่งเป็นออปชัน
มีการเพิ่มระบบการซิงก์สัญญาณเสียงอัตโนมัติ
รอง รับการส่งสัญญาณขาออกแบบ Dolby TrueHD and DTS-HD Master Audio streams สำหรับตัวถอดรหัสภายนอก ซึ่งระบบเสียงนี้จะมีใช้ใน HD-DVD หรือ Blu-ray แต่ถ้าเครื่องเล่น DVD สามารถถอดรหัสได้อยู่ก็สามารถส่งข้อมูลผ่าน HDMI ได้เลย
มีมาตรฐานหัวต่อขนาดเล็กสำหรับใส่ในอุปกรณ์ขนาดเล็กจำพวกกล้องถ่ายวิดีโอ


ดอยผ้าห่มปก
เป็นยอดดอยสูงอันดับสองของประเทศไทยรองจากดอยอินทนนท์(อยู่ระหว่าง อ.ฝางกับอ.แม่อาย ระยะทางประมาณ 160 ก.ม. จาก อ.เมือง)
มีที่พักและจุดกางเต็นท์ ติดต่อที่ทำการอุทยานเสียค่าธรรมเนียมที่พัก เต็นท์หลังละ 30 บาท/คืน (นำใบเสร็จไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่จุดพักแรมกิ่วลม)
เจ้าหน้าที่จะมอบกุญแจให้3ดอก(โดยวางบัตรประชาชนเป็นประกัน)เพื่อใช้เปิด เหล็กกั้นของหน่วยจัดการต้นน้ำดอยผาหลวงที่ปิดกั้นเส้นทางอยู่3จุด
เพื่อป้องกันคนมาหาของป่า



การเดินทาง
ใช้เส้นทางแม่ฝาง-บ้านห้วยบอน-ดอยผาหลวง-กิ่วลม โดยใช้เส้นทางเลี่ยงเมืองฝาง มุ่งหน้าไปทางอ.แม่อาย จนถึงหลัก กม.6มีทางแยกซ้ายมือ
มีป้ายบอกทางเล็กๆไปบ้านห้วยบอนและหน่วยจัดการต้นน้ำดอยผาหลวง ถนนสูงชันเป็นบางช่วง ระยะทาง13กม. จะผ่านหน่วยฯดอยผาหลวง
เมื่อเลยไปประมาณ 200 ม. มีทางแยกทางซ้ายมือไปดอยผ้าห่มปกอีก5กม. ถนนผ่านจุกพักแรมกิ่วลม ไปสิ้นสุดที่ปางมงคลที่อยู่เลยไปไม่ไกลจากจุกพักแรมกิ่วลม สามารถขึ้นสู่ยอดดอยผ้าห่มปก โดยใช้เวลาเพียง 2-3 ช.ม. เส้นทางเดินง่ายไม่ชันมาก มีช่วงที่ชันตอนต้นๆเรียกว่า ม่อนวัดใจ ระยะทางประมาณ 500 ม.



จากนั้นเส้นทางจะสูงๆต่ำๆผ่านป่าดิบเขา ไปจนถึงลานพักแรมใกล้ยอดดอย เดินจ่อไปตามทางเดิน มีทางแยกซ้ายมือตามโขดหินขึ้นไปตามสันดอยสู่บอดดอยผ้าห่มปก เส้นทางนี้เดินสะดวก ทางชัด ไม่รก สามารถเดินได้โดยไม่ต้องมีคนนำทางแต่หากต้องการคนนำทางติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ หน่วยฯกิ่วลม นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นดอยผ้าห่มปกในตอนใกล้รุ่งเวลา 4.00 น.เพื่อไปชมพระอาทิตย์ขึ้น บรรยากาศงดงามยิ่งนัก


วิชาวิทยาศาสตร์ ม.1

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ (ว21101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช เวลา 43 ชั่วโมง
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต เวลา 2 ชั่วโมง
มาตรฐาน
ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
1.ตัวชี้วัด
ว 1.1 ม.1/1 สังเกตและอธิบายรูปร่าง ลักษณะของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
ว 8.1 ม.1/6 สร้างแบบจำลอง หรือรูปแบบ ที่อธิบายผลหรือแสดงผลของการสำรวจตรวจสอบ
2.สาระสำคัญ
เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ลักษณะของเซลล์ชนิดต่างๆ จะมีขนาด รูปร่าง และหน้าที่แตกต่างกัน ซึ่งศึกษาได้โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์และจำแนกเซลล์ตามเกณฑ์ต่างๆ ได้หลายแบบ
3.สาระการเรียนรู้
ศึกษาลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและเซลล์สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
4.จุดประสงค์การเรียนรู้
4.1 นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวได้
4.2 นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ได้
4.3 นักเรียนสามารถเปรียบเทียบลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและเซลล์สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ได้
5.ทักษะกระบวนการเรียนรู้
5.1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การปฏิบัติการทดลอง กระบวนการกลุ่ม และการสืบค้นข้อมูล
6.คุณลักษณะที่พึงประสงค์
6.1 ใฝ่เรียนรู้
7.กระบวนการจัดการเรียนการสอน การสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process / 5 E) เทคนิค การใช้แผนที่ความคิด (Mind Map)
8.ภาระงาน/ชิ้นงาน
8.1 การวาดภาพเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และเขียนแผนที่ความคิดความแตกต่างและความเหมือนของลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
9.การวัดและการประเมินผล
เกณฑ์การตัดสินโดยรวม (ผ่าน / ไม่ผ่าน)
นักเรียนผ่าน ต้องได้ระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไป ในการประเมินความรู้ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
นักเรียนผ่าน ต้องได้ระดับคุณภาพ 3 ขึ้นไป ในการประเมินการนำเสนอผลงาน
10.กิจกรรม
ชั่วโมงที่ 1 - 2
10.1 ขั้นสร้างความสนใจ
10.1.1 ครูให้นักเรียนสังเกตภาพของสิ่งมีชีวิต เช่น แบคทีเรีย อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา สาหร่าย ปลา เป็นต้น และให้บอกว่าแต่ละภาพที่เห็นน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
แนวคำตอบ - สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น แบคทีเรีย อะมีบา พารามีเซียม และยูกลีน่า เป็นต้น
- สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่น สาหร่ายหางกระรอก ปลา เป็นต้น
10.1.2 ให้นักเรียนบอกเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกกลุ่มสิ่งมีชีวิต
แนวคำตอบ - สิ่งมีชีวิต แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้จำนวนเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเป็นเกณฑ์
10.1.3 ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
10.2 ขั้นสำรวจค้นหา
10.2.1 นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยคละเพศและความสามารถ โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงาน
10.2.2 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาใบความรู้ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และศึกษาตัวอย่างเซลล์ของสิ่งมีชีวิตโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ จากนั้นทำใบงาน เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ข้อที่ 1 และข้อที่ 2 และนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงจากใบความรู้ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
10.2.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มเสนอผลงาน และร่วมอภิปรายกับเพื่อนร่วมชั้นและครูถึงผลงานของแต่ละกลุ่ม ว่าแต่ละกลุ่มใช้เกณฑ์ใดในการเปรียบเทียบแบ่งกลุ่ม หากคำตอบที่ได้ยังไม่ชัดเจนให้ครูกระตุ้นด้วยคำถามหรือเสนอแนะข้อมูลเพิ่มเติม
10.3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
10.3.1 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
10.4 ขั้นขยายความรู้
10.4.1 ครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า โดยให้นักเรียนยกตัวอย่างเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันของนักเรียน และให้พิจารณาจำแนกว่าเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ โดยใช้หลักเกณฑ์ในการจัดจำแนกทางวิทยาศาสตร์
10.5 ขั้นประเมิน
10.5.1 นักเรียนได้เรียนเรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ได้ความรู้ความเข้าใจ อะไรบ้าง ให้สรุปเป็นแผนที่ความคิดอย่างอิสระ (ใบงาน เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ข้อที่ 3 )
11. ข้อเสนอแนะ/กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้ และใช้เป็นพื้นฐานความรู้ในการศึกษาเรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
12. สื่อ/แหล่งเรียนรู้
12.1 สื่อการเรียนรู้
- ใบความรู้ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
- ใบงาน เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
- สไลด์ถาวรของเซลล์สิ่งมีชีวิตตัวอย่าง
12.2 แหล่งเรียนรู้
- ห้องวิทยาศาสตร์

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาวรุจนี สุยะวงค์
ชื่อเล่น แคท
เกิด 15 สิงหาคม 2527
การศึกษา ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยา)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่อยู่ 454 หมู่ 9 ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ 50320
สถานที่ทำงาน โรงเรียนชุมชนวัดศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่
E-mail kathy_ruj@hotmail.com